วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565

ผักผลไม้อบกรอบ ดีต่อสุขภาพจริงหรือ

 ผักผลไม้อบกรอบที่มาพร้อมคำโฆษณาว่าเป็นขนมหรือของว่างที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จริงๆ แล้วดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่ หรือมีวิธีกินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565

ข้อควรระวังควรรู้ก่อนกิน "เนื้อจระเข้"

เนื้อจระเข้โปรตีนทางเลือก มีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ให้พลังงานต่ำ ไขมันน้อย แนะทำความสะอาดเนื้อให้ถูกวิธี เน้นปรุงสุกก่อนกิน เลี่ยงการปนเปื้อนของแบคทีเรียได้

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565

7 สิ่งที่ควรทำ เพื่อให้มี "อายุยืน"

 หลายคนน่าจะมีความปรารถนาที่มีอายุที่ยืนยาว เพื่อที่จะได้อยู่กับคนรัก ได้มองเห็นสิ่งที่รักเจริญเติบโต ได้ทำตามเป้าหมายที่วางไว้ วันนี้เลยมี 7 สิ่งที่ทำแล้วจะช่วยให้คุณมีชีวิตที่ยืนยาว หรืออย่างน้อยมันทำให้คุณไม่รู้เสียดายแน่ๆ เมื่อวันวานผ่านไป 

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565

ทิ้งชุดตรวจโควิด-19 ATK อย่างไรให้ถูกต้อง ไม่ปนเปื้อน

 ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง การใช้ ATK หรือ Antigen Test Kit ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเอง เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดความกังวลและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2565

อันตราย! ถ้าไม่ล้าง-ลวก “วุ้นเส้นสด” ก่อนปรุงอาหาร

 วุ้นเส้นสด มีสารเคมีที่จำเป็นต้องนำมาล้างด้วยน้ำประปา หรือลวกน้ำร้อน ก่อนนำปรุงอาหาร หากร่างกายได้รับสารเคมีนั้นมากๆ อาจทำให้หายใจ ติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน หมดสติ และอาจตายได้ในผู้ที่แพ้มากหรือเป็นหอบหืด

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2565

เนื้อหมูติดเชื้อ ASF เรายังกินได้อยู่ไหม?

 ราคาเนื้อหมูที่กำลังพุ่งสูงขึ้นทะลุ 200 บาทต่อกิโลกรัม ตามมาด้วยข่าวพบการติดเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ของรัฐบาล นำความหนักใจมาให้พี่น้องประชาชนทุกคนทั้งในฐานะพ่อค้าแม่ค้าหรือผู้บริโภคในด้านมิติเศรษฐกิจ รวมถึงในด้านสาธารณสุขเอง เชื้อไวรัส ASF ก็ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าสุดท้ายแล้ว เชื้ออหิวาต์นี้หากมนุษย์กินเข้าไปจะติดเชื้อได้เหมือนกับหมูหรือไม่


โรค ASF คืออะไร

จากข้อมูลสัมภาษณ์ของหลายสำนักข่าวสรุปได้ว่าเชื้อ ASF : African Swine Fever เป็นโรคอหิวาต์​แอฟริกา​ใน​สุกร ที่แพร่เชื้อไวรัสที่ทนในธรรมชาติและติดเชื้อได้อย่างรุนแรงทั้งในหมูและหมูป่า จึงเป็นเหตุให้เชื้อไวรัสแพร่ได้เร็วและตกค้างได้นานหลายปีแม้อยู่ในเนื้อหมูแช่เย็น


โรค ASF ติดจากสัตว์สู่คนได้ไหม

แม้เชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้นานหลายเดือน แต่ไม่ใช่โรคที่ติดจากสัตว์สู่คน โรค ASF จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์และในปัจจุบันยังไม่มีประวัติผู้ป่วยด้วยเชื้อโรคนี้


หากกินหมูติดเชื้อ ASF จะอันตรายต่อร่างกายหรือไม่

เรายังสามารถกินเนื้อหมูที่ติดเชื้อ ASF ได้ตามปกติเนื่องจากเชื้อไม่ติดจากสัตว์สู่คน แต่ถึงอย่างไรนั้นก็ไม่ควรกินเนื้อสุกๆดิบๆ เพราะเชื้อไวรัสนี้จะตายด้วยความร้อน​ 60 องศาขึ้นไป อย่างน้อย 30 นาที เพื่อความมั่นใจว่าอาหารที่ทานจะสะอาด ปลอดเชื้อ จึงควรกินอาหารที่ปรุงสุกทุกครั้งลดความเสี่ยง


ปัญหาหมูติดเชื้อจนนำไปสู่การขาดแคลนอาหารของคนไทยจนขึ้นค่าครองชีพด้านการกิน แม้หมูที่ติดเชื้อยังสามารถทานได้อยู่แต่ในแง่เกี่ยวกับอนามัยก็ไม่นิยมนำมาปรุงอาหารกันอย่างแน่นอน เราจึงเห็นหลายๆที่เสนอโปรตีนประเภทอื่นขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกในยุคหมูแพงแบบนี้ 


แต่หากรัฐมองไปถึงอนาคต การสรรหาอาหารทดแทนอาจไม่ใช่เรื่องแรกที่ควรแก้ไข เท่ากับปัญหาโครงสร้างที่จะตามมาในอนาคต


ที่มา:sanook

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565

“เล็บขบ” อาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน-รักษา

 อาการเล็บขบ ทำเอาคนที่เป็นทรมานจนแทบจะเดินไม่ได้ หนำซ้ำในบางรายเป็นหนักจนถึงขั้นต้องผ่านตัด โดยสาเหตุมาจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราอาจมองข้าม

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565

“สมองเสื่อม” ไม่เหมือน “อัลไซเมอร์” และสิ่งอื่นๆ ที่คนมักเข้าใจผิด

 ภาวะสมองเสื่อม กับโรคอัลไซเมอร์ ไม่ใช่โรคเดียวกันเสียทีเดียว เรื่องที่หลายคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม รวมถึงการที่ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมักไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ คนรอบข้างจึงต้องคอยสังเกตให้ดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เพราะยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2565

“เสมหะ” ตอนเช้า บอกโรค

 เสมหะเป็นสารคัดหลั่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อเจอสิ่งระคายเคือง เช่น ฝุ่น เกสร หรือการติดเชื้อโรคต่างๆ โดยร่างกายจะสร้างมูกออกมา และเมื่อมูกในจมูกไหลลงคอ หรือมูกที่อยู่ในคอเอง หรือมูกในหลอดลมที่ถูกขับขึ้นมาอยู่ที่คอก็จะกลายเป็นเสมหะอยู่ในลำคอ

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2565

เตือนภัย “คลอรีน” ผสมน้ำอาบ เสี่ยงผิวหนังไหม้ได้

 อย. เตือนอันตรายจากการผสมสารละลายสีม่วง รวมถึงผงคลอรีนลงไปในน้ำเพื่อใช้อาบ อ้างสรรพคุณช่วยให้ผิวขาวขึ้น แต่จริงๆ แล้วเสี่ยงผิวหนังไหม้รุนแรง และอาจระคายเคืองดวงตาและระบบทางเดินหายใจได้

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2565