วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

10 ประโยชน์ดีๆ ของ ลูกไหน-ลูกพรุน-ลูกพลัม

 ผลไม้ไทย 1 ชนิด อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ แต่สำหรับ “ลูกไหน” แล้ว นอกจากนะมีหลายชื่อ ทั้ง ลูกไหน ลูกพลัม หรือลูกพรุน (ที่เอาไว้เรียกตอนที่เป็นผลตากแห้ง) อาจทำให้ใครหลายคนสับสนได้ หรืออาจจะเข้าใจผิดไปว่าเป็นผลไม้คนละชนิดกัน

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

เตือนภัย "ไม้-ไม้ไผ่" ทำอาหาร เสี่ยงมีเชื้อรา อันตรายต่อผู้บริโภค

 อุปกรณ์ทำอาหารที่ทำจากไม้ หรือไม่ไผ่ เช่น เสื่อม้วนซูชิ อาจมีราขึ้นได้ง่ายถ้าดูแลรักษาความสะอาดได้ไม่ดีพอ ส่งผลเสียต่อสุขภาพคนกินได้ เตือนผู้ประกอบการร้านอาหาร ใส่ใจถึงความสะอาด และความปลอดภัยของภาชนะต่างๆ ที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่นำมาจากไม้ หรือไม้ไผ่ หลังใช้งานต้องล้างให้สะอาด ผึ่งแดดให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อรา และสร้างความมั่นใจผู้บริโภค

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

อาหารสำหรับผู้ป่วย "ลองโควิด" ฟื้นฟูร่างกายหลังติดเชื้อ

 ผู้ป่วยลองโควิด-19 กินอาหารครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย เลือกกินอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน จุลินทรีย์สุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics) และวิตามินต่างๆ  เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง และสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

5 วิธีป้องกัน-ลดปวดท้อง “กระเพาะอาหาร” จากคนญี่ปุ่น

 บางครั้งการปวดท้องที่กระเพาะอาหารไม่ได้เกิดจากแผลเรื้อรังจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร แต่อาจเนื่องมาจากความเครียดและการและพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นสาเหตุของการปวดท้อง มารู้วิธีการบรรเทาและป้องกันอาการปวดท้อง และอาหารที่คนญี่ปุ่นแนะนำให้รับประทานเมื่อมีอาการปวดท้องที่กระเพาะอาหารกัน 

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ไขข้องใจ "หมึกช็อต" มันเจ็บไหม และเสี่ยงอันตรายหรือเปล่า

 กำลังฮิตท่วมท้นกับกระแสอาหารทะเลอย่าง หมึกช็อต ที่นำปลาหมึกเป็นๆ ลงไปแช่ในแก้วช็อตน้ำจิ้มซีฟู้ดรสเผ็ด จนเกิดเป็นข้อถกเถียงกันว่าการกินอาหารเปิบพิสดารแบบนี้ เราต้องสงสารมันหรือเปล่า?และการกินอาหารทะเลดิบๆปลอดภัยต่อร่างกายแน่หรอ?

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

“ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง” เสี่ยงมะเร็งเต้านม จริงหรือ?

 อาหารที่เรารับประทานกันในชีวิตประจำวัน มีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นจำนวนมาก เช่น เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ ซอสปรุงรส เต้าเจี้ยว เป็นต้น ดังนั้นคงยากที่จะเลี่ยงอาหารเหล่านี้ แต่ถ้าเราเลี่ยงไม่ได้ แล้วการรับประทานทุกๆวันจะอันตรายกับเต้านมสาวๆ อย่างเราหรือไม่?

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สาเหตุ “เล็บขบ” เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรักษาเล็บขบ

 อาการเล็บขบ ทำเอาคนที่เป็นทรมานจนแทบจะเดินไม่ได้ หนำซ้ำในบางรายเป็นหนักจนถึงขั้นต้องผ่านตัด โดยสาเหตุมาจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราอาจมองข้าม

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

น้ำด่าง-น้ำ RO ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่

 ความเชื่อเรื่องน้ำดื่มประเภทต่างๆ ที่คุณอาจไม่รู้ว่ามันถูกหรือผิดกันแน่ พามาไขข้อข้องใจกันจากคำตอบของ ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ แพทย์สาขาวิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยาคลินิก ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

3 โรคอันตรายที่พบบ่อยใน "ผู้หญิง" และวิธีป้องกัน

 เกิดเป็นผู้หญิงแท้จริงแสนลำบาก คำกล่าวนี้จะเรียกว่าไม่ผิดนัก เพราะในทุกๆเดือนที่ผู้หญิงต้องมีประจำเดือน บางคนก็มีอาการปวดท้องที่ทำให้ต้องรู้สึกทรมานอยู่เสมอ ไม่ใช่เรื่องที่น่าภิรมย์เท่าไร แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ปัญหาจริงๆ จะตามมาเมื่อผู้หญิงเริ่มอายุมากขึ้น เริ่มตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ความเสื่อมต่างๆ ก็เริ่มตามมา ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสร้างกระดูกที่เริ่มลดลง ทำให้กระดูกบางลง ความเสี่ยงในการเกิดก้อนเนื้อหรือมะเร็งก็เพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก