วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

"เบาหวาน" ก็กิน "น้ำตาล" ได้ ถ้าควบคุมอาหารของโรคได้

การเป็นเบาหวาน ไม่ได้แปลว่า คุณไม่สามารถกินของหวาน หรือควรงดน้ำตาลเสมอไป แต่คุณสามารถรับประทานของหวานได้ในปริมาณเล็กน้อย หากคุณสามารถจัดการและควบคุมอาการของโรคเบาหวานได้

 

ความจริงเกี่ยวกับน้ำตาล

หลายคนคิดว่าการกินน้ำตาลทำให้เป็นโรคเบาหวาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้ำตาลไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่อย่างใด
สำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 น้ำหนักเกิน เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อคุณกินน้ำตาลมากเกินไป น้ำหนักตัวก็จะเพิ่มขึ้น การศึกษาพบว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก สัมพันธ์กับการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้น คุณควรควบคุมปริมาณการบริโภคน้ำตาล เพื่อช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
แต่หากคุณเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว การบริโภคน้ำตาลจะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งหากไม่มีการควบคุม ปัญหาร้ายแรงอาจะเกิดขึ้นได้ การวางแผนในเรื่องการกินอย่างเหมาะสม คือการควบคุมปริมาณน้ำตาล และรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ให้ได้
คุณควรกินของหวานในโอกาสพิเศษเท่านั้น เช่น วันเกิดหรืองานแต่งงาน แต่พึงระลึกไว้ว่า ของหวานเหล่านั้นมีปริมาณน้ำตาลสูง ดังนั้น ควรรับประทานในปริมาณเล็กน้อย มื้ออาหารในแต่ละวันของคุณควรมีสารอาหารครบถ้วน เช่น ผัก ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน ถั่ว และโปรตีนไร้ไขมัน
หากของหวานมีปริมาณน้ำตาลมากเกินไป ควรแบ่งกับเพื่อน และไม่ควรซื้อของหวานที่ไม่ดีต่อสุขภาพหากคุณคิดว่าคุณจะไม่สามารถยั้งใจไม่กินมันได้

เพิ่มความหวานให้อาหาร

นอกจากควรสงวนของหวานไว้สำหรับวันพิเศษแล้ว อีกวิธีการหนึ่งที่สามารถสนองความต้องการสำหรับผู้รักความหวานก็คือ การใส่สารเพิ่มความหวานที่มีแคลอรี่ต่ำลงในอาหาร แต่ควรควบคุมปริมาณในการใส่ ชนิดของสารเพิ่มความหวานมีดังนี้
  • น้ำตาลประเภทต่างๆ (น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลข้าวโพด น้ำตาลจากต้นปาล์ม)
  • น้ำผึ้ง
  • น้ำเชื่อม (จากอ้อย เมเปิล และข้าว)
  • น้ำหวานจากเกสรดอกไม้
  • น้ำตาลธรรมชาติ (ฟรุคโตส ไซลิทอล)

เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คุณควรควบคุมคาร์โบไฮเดรตที่สามารถพบได้ในอาหารเหล่านี้ด้วย
  • ข้าว
  • พาสต้า
  • ขนมปัง
  • คุกกี้
  • ผักที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง (เมล็ดพืช ถั่ว มันฝรั่ง ข้าวโพด)
  • ผลไม้
  • น้ำผลไม้
  • ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (นม ชีส โยเกิร์ต)

หากคุณอยากกินของหวาน คุณควรระบุปริมาณความหวานที่อยู่ในอาหาร โดยตรวจสอบจากฉลากบรรจุภัณฑ์ ฉลากที่แสดงปริมาณสารอาหารและส่วนผสม จะบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลในปริมาณเท่าไร น้ำตาลประกอบด้วยทั้งน้ำตาลธรรมชาติ และน้ำตาลที่เติมลงไป คาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยแป้ง เส้นใยอาหาร น้ำตาล และน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น มัลติตอล (maltitol) ไซลิทอล (xylitol) ซอร์บิทอล (sorbitol) คุณสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อสร้างสูตรของหวานที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้
ของหวานเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ปรารถนา แต่เมื่อเป็นโรคเบาหวาน คุณควรทานของหวานสำหรับโอกาสพิเศษเท่านั้น แต่หากคุณตัดสินใจเพิ่มของหวานในมื้ออาหารของคุณ มันก็ควรอยู่ในปริมาณน้อยๆ แพทย์จะช่วยให้คำแนะนำฝนเรื่องการวางแผนมื้ออาหารของคุณได้ ที่จะไม่เพียงช่วยควบคุมโรคเบาหวาน แต่ยังทำให้เป็นมื้ออาหารที่น่าพึงพอใจสำหรับคนรักของหวานเช่นคุณ
ที่มา:sanook

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น