วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565

"ผ่าตัดกระเพาะ" ลดน้ำหนัก ทำได้จริงหรือไม่

 การผ่าตัดกระเพาะอาหาร เป็นทางเลือกหนึ่งของใครที่อยากลดน้ำหนักอยู่หรือเปล่า เรื่องนี้ทำได้จริงไหม ได้ผลมากแค่ไหน แล้วใครที่ทำได้บ้าง


รศ.นพ.ปรีดา สัมฤทธิ์ประดิษฐ์ แพทย์สาขาศัลยศาสตร์อุบัติเหตุและเวชบำบัดวิกฤติทางศัลยกรรม ภาควิชาศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง โดยวิธีการส่องกล้อง เป็นวิธีการลดน้ำหนักเพื่อรักษาโรคอ้วนที่มีประสิทธิภาพ ทำโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


ใครที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักได้

ผู้ที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ข้อนี้ ถึงจะสามารถเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักได้


  • ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 32.5 กิโลกรัมค่อตารางเมตรขึ้นไป
  • อายุ 18-65 ปี
  • ผ่านการลดน้ำหนักด้วยตนเอง ทั้งการคุมอาหารและออกกำลังกาย แต่ไม่ได้ผล

ข้อปฏิบัติก่อนผ่าตัดกระเพาะอาหาร

ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดต้องได้รับการควบคุมภาวะโรคร่วม รวมถึงโรคประจำตัวที่มีอยู่ให้ดีก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดอย่างปลอดภัยที่สุด


ข้อปฏิบัติหลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร

ระยะเวลาพักฟื้นอยู่ที่ 1-2 วันที่โรงพยาบาล ต่อที่บ้านอีก 1-2 สัปดาห์


  • กินอาหารทางการแพทย์แบบชง สูตรครบ 5 หมู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วปรับเลือกกินอาหารตามที่แพทย์แนะนำ
  • ควรงดเครื่องดื่มที่มี่ความหวาน และของหวานอื่นๆ เพราะน้ำตาลจะกระตุ้นให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ที่เป็นสาเหตุของโรคอ้วนยังมีอยู่
  • กินวิตามินบีรวม ธาตุเหล็ก และวิตามินดี
  • ตรวจร่างกายเป็นระยะ ทุกๆ 3 เดือน เป็นเวลา 2 ปี จากนั้นจะเป็น 6-12 เดือน

ข้อควรระวัง

หลังผ่าตัด อาจกลับมาอ้วนได้อีก หากไม่ปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ


นอกจากนี้ วิธีลดน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนมากที่สุด คือการเลือกอาหาร จำกัดปริมาณอาหารให้เหมาะสม ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ


Cr.sanook

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น